Monday, March 1, 2021



ALL ABOUT
SOMDEJ WAT RAKANG
STORED AT WAT SATUE,
AYUTHAYA, B.E. 2414 

History:
https://bit.ly/3e0KYYG

Backsides:
https://bit.ly/3bVnjpN

Knowledge Sources:
https://bit.ly/3kBbiJW

Asst Prof
Rangsan Torsuwan's
write-ups:

https://bit.ly/3uMS6hd

Videos:
https://bit.ly/3kEyPtI

Sunday, February 28, 2021


วิดีโอ:
พระนอนวัดสะตือ จ.อยุธยา
สร้างโดยสมเด็จพระพุฒาจารย์
(โต พรหมรังสี)
เจ้าอาวาสวัดระฆังในขณะนั้น
สำเร็จเมื่อปี พ.ศ. 2414
ข้างในองค์พระนอน ท่านได้นำพระสมเด็จ
สร้างจากวัดระฆังมาบรรจุไว้

Videos on:
The Reclining Buddha 

of Wat Satue, Ayuthaya,
Created and Supervised
on Construction by  
Somdej Toh
The Then Abbot of
Wat Rakang.
Year of Completion 
B.E.2414 
Inside the Reclining Buddha
Storing 
Somdej Wat Rakang 
Created & Blessed by
Somdej Toh:
(Click)


https://youtu.be/ZcBt_-_ei10

https://youtu.be/BQH9BOlUVl4

ขอขอบพระคุณ
ท่านเจ้าของวิดีโอ
ผู้ให้ความรู้แก่สาธารณชน
มา ณ ที่นี้
 
                                                          

Saturday, February 20, 2021


แหล่งเรียนรู้พระสมเด็จวัดระฆัง
บรรจุกรุวัดสะตือ จ.อยุธยา พ.ศ.2414
โดย ท่านอาจารย์กิตติปัญโญ วังก้านเหลือง 

An important knowledge source for
Somdej Wat Rakang
stored at Wat Satue, Ayuthaya, B.E.2414
by Ajarn Kittipanyo Wangkanluang:
(click)

 http://watsatue.blogspot.com


https://bit.ly/3aAVmEi



Saturday, January 23, 2021

ลักษณะด้านหลัง
พระสมเด็จวัดระฆัง
บรรจุกรุวัดสะตือ จ.อยุธยา
พ.ศ. 2414


Characteristics of the
Backside of 
Somdej Wat Rakang, 
Stored in the Reclining Buddha
of Wat Satue, Ayuthaya
B.E. 2414  

หลังกระดาน
Kradan Back


หลังสังขยา
Sangkhaya Back



หลังกระดาน
Kradan Back

หลังสังขยา
Sangkhaya Back


หลังกระดาน
Kradan Back



หลังกระดาน
Kradan Back


หลังกระดาน
Kradan Back

หลังสังขยา
Sangkhaya Back



หลังกระดาน
Kradan Back


หลังสังขยา
Sangkhaya Back



หลังกระดาน
Kradan Back


หลังผสม
กาบหมาก + สังขยา
Gabmak + Sangkhaya 
Back

หลังปริ
Crack Back



หลังกาบหมาก
Gabmak Back




หลังสังขยา
Sangkhaya Back




หลังเรียบ
Plain Back



หลังกาบหมาก
Gabmak Back



หลังกาบหมาก
Gabmak Back

หลังสังขยา
Sangkhaya Back

หลังกาบหมาก
Gabmak Back



หลังผสม
กาบหมาก + สังขยา
Gabmak + Sangkhaya 
Back

หลังผสม
กาบหมาก + สังขยา
Gabmak + Sangkhaya 
Back



หลังกระดาน
Kradan Back
________________

Saturday, January 16, 2021

 


ข้อเขียนของท่านอาจารย์รังสรรค์ ต่อสุวรรณ
เกี่ยวกับ พระสมเด็จวัดระฆัง
บรรจุกรุวัดสะตือ พ.ศ.2414 จ.พระนครศรีอยุธยา
ซึ่งเป็นความรู้สำหรับนักนิยมสะสมพระเครื่อง
ขอขอบพระคุณท่านอาจารย์ไว้ ณ ที่นี้

Write-ups of  Asst.Prof.
Rangsan Torsuwan
on Somdej Wat Rakang,
stored in Wat Satue
Ayuthaya, B.E.2414:


https://www.facebook.com/rangsantorsuwan/photos/a.495443590489020/1240470802652958 

พระสมเด็จวัดสะตือ จังหวัดอยุธยา
ของสมเด็จพุฒาจารย์ โต พรหมรังษี
วันนี้ผมอยากจะเล่าถึงเรื่อง พระสมเด็จของท่านเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์ โต พรหมรังษี พระเถราจารย์ที่คนไทยทั้งหลายให้ความเคารพศรัทธาเป็นอย่างสูงและตลอดกาล ท่านเจ้าประคุณสมเด็จ เป็นเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆษิตาราม ท่านได้เคยสร้างพระบูชาองค์ใหญ่ ซึ่งพวกเราเรียกกันว่า “หลวงพ่อโต” อยู่ทั้งหมด 3 องค์ ได้แก่พระบูชาหลวงพ่อโต ที่วัดเกศไชโย จังหวัดอ่างทอง ซึ่งถือเป็นพระปูนปั้นองค์ใหญ่มากที่สุดในสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งพระหลวงพ่อโตองค์นี้ต้องใช้เวลาสร้างอยู่หลายปี จนกระทั่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไม่สามารถนิมนต์ท่านเจ้าประคุณสมเด็จโตมาเทศน์ในพระบรมมหาราชวังได้เป็นระยะเวลานาน

ที่วัดเกศไชโย ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯท่านได้สร้าง พระสมเด็จวัดเกศไชโยขึ้น ซึ่งเป็นพระสมเด็จที่พุทธศาสนิกชนมีความเคารพนับถือเป็นอย่างยิ่ง ในวงการพระเครื่องถือว่าเป็นพระสมเด็จยอดนิยมเป็นอันดับสามรองลงมาจาก พระสมเด็จวัดระฆังโฆษิตาราม และพระสมเด็จวัดบางขุนพรหม

ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯท่านยังได้เดินธุดงก์ไปยังอยุทธยา ซึ่งเป็นบ้านเกิดของโยมแม่ ท่านจึงได้สร้างพระนอนปูนปั้นองค์ขนาดใหญ่รอวมาจาก พระนอนปูนปั้นที่วัดขุนอินทประมูล ในจังหวัดอ่างทอง โดยการสร้างพระนอนที่อยุธยานั้น เป็นการสร้างพระที่วัดสะตือ

เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2497 พระนอนที่วัดสะตือได้เกิดชำรุดเสียหายหนัก จึงต้องบูรณะสร้างขึ้นใหม่ จึงได้พบพระเครื่องปูนขาวรูปพระสมเด็จวัดระฆังโฆษิตารามเป็นจำนวนมาก เราเรียกกันว่า “พระสมเด็จวัดสะตือ”

สำหรับพระหลวงพ่อโตองค์ยืนที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ซึ่งท่านเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์ โต พรหมรังษีได้สร้างเป็นองค์สุดท้าย อยู่ที่วัดอินทร์ กรุงเทพมหานคร โดยที่ยังไม่ปรากฎว่ามีการขุดพบกรุที่บรรจุพระเครื่องพิมพ์ใดในพระหลวงพ่อโตองค์ยืนในกรุงเทพมหานครแต่อย่างใด

สำหรับพระสมเด็จวัดสะตือนั้น ค้นพบบรรจุอยู่ในองค์พระนอน ซึ่งถูกแช่น้ำมาโดยตลอด พระสมเด็จวัดสะตือในสมัยนั้นลือกันว่า ท่านจอมพล ป. พิบูลสงครามและท่านนายพลอีกหลายท่านครอบครองอยู่ มีพระจำนวนน้อยที่ออกมาสู่มือชาวบ้าน จึงมีผู้ที่พบเห็นน้อยมากครับ

ฯพณฯ จอมพล ป. ได้เคยกราบนมัสการหลวงปู่นาค วัดระฆังโฆษิตาราม ได้ฟังคำชี้แจงจากหลวงปู่ว่า ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์ โต พรหมรังษี เป็นผู้สร้างพระเครื่องพิมพ์สมเด็จวัดระฆังโฆษิตาราม ทั้งหมดพระที่สร้างในสมัยนั้น ส่วนที่เหลือบางส่วน ท่านเจ้าปนะคุณสมเด็จฯได้เก็บไว้ในฝ้าเพดานพระอุโบสถ วัดระฆังโฆษิตาราม จึงเป็นเหตุให้พระสมเด็จวัดสะตื เป็นพระที่มีพุทธศิลป์ มวลสารการสร้างพระ ตลอดจนการหดตัวและตำหนิศิลปะแม่พิมพ์เหมือนกับ พระสมเด็จวัดระฆังโฆษิตารามที่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯได้สร้างขึ้นครับ

เมื่อพระนอนปูนปั้นองค์ใหญ่ที่วัดสะตือ จังหวัดอยุธยา สร้างโดยท่านเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์ โต พรหมรังษี เจ้าอาวาสวัดระฆังโฆษิตาราม เพราะฉะนั้นพระผงสมเด็จกรุวัดสะตือซึ่งขุดได้จากภายในองค์พระนอนย่อมต้องเป็นพระเครื่องที่สร้างโดยท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ อย่างไม่ต้องสงสัย บรรดาเซียนปากสุนัขไม่ต้องสงสัยในประเด็นว่าสร้างโดยท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯหรือไม่ องค์พระนอนนั้นยาวสามสิบกว่าเมตร จัดเป็นพระนอนที่ใหญ่มากเป็นอันดับสองในประเทศไทย พระสมเด็จที่ฝังอยู่ในกรุภายในองค์พระนอนนั้น ถูกแช่น้ำยาวนานมากว่าร้อยปี เพราะที่อยุธยาจะมีน้ำท่วมทุกปี

เมื่อหลายปีก่อนมีเพื่อนผมไปนำพระสมเด็จกรุวัดสะตือมาให้ดู เห็นเป็นพระผุ ๆ พัง ๆ ขี้ดินผสมทราบเต็มไปทั้งองค์ดูแทบจะไม่เป็นพระเครื่องหรือพระสมเด็จเลย ต้องอาศัยอาราธณาเอาครับ

วันนี้พี่เปี๊ยก ปรีชา เอี่ยมธรรม ได้นำพระสมเด็จวัดสะตือมให้ผมดูองค์หนึ่ง เป็นพระที่สวยงามมากครับ เห็นเป็นพระผงสมเด็จเนื้อขาว แต่ไม่เห็นเนื้อในจึงยังไม่สามารถวิเคราะห์ว่า เนื้อมวลสารจะเหมือนพระสมเด็จวัดระฆังโฆษิตารามหรือไม่ มีเศษน้ำรักจับอยู่ประปราย และที่สำคัญที่สุดก็คือ มีคราบแคลเซียม จับเป็นแผ่นทั่วทั้งองค์พระ สีจึงกลับกลายเป็นสีเทา และพุทธศิลป์เป็นพระสมเด็จวัดระฆังโฆษิตาราม พิมพ์ใหญ่ ซุ้มครอบแก้วเป็นซุ้มหวายผ่าครึ่งที่เส้นใหญ่ จุดโค้งของซุ้มครอบแก้วด้านขวาขององค์พระประธานช่วงบนโค้งจะเอียงเข้าในองค์พระประธาน ตามพุทธศิลป์ของพระสมเด็จวัดระฆังโฆษิตาราม พิมพ์ใหญ่ทั้ง 4 พิมพ์ครับ

เส้นกรอบแม่พิมพ์กรอบนอกด้สนซ้ายมือขององค์พระประธาน จะมีเส้นกรอบพิมพ์จากด้านบนวิ่งลงมาจรดเส้นซุ้มครอบแก้ว บริเวณแขนใกล้ข้อศอกของพระประธาน ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของพระสมเด็จวัดระฆังโฆษิตาราม พิมพ์ใหญ่ทั้ง 4 พิมพ์เช่นกัน พุทธศิลป์ขององค์พระจะล่ำสันและน่าจะเป็นศิลปะของพระสมเด็จวัดระฆังโฆษิตาราม พิมพ์ใหญ่ พิมพ์ A ซึ่งจะมีเส้นแซมใต้ฐานเส้นบาง ๆ

สำหรับรายละเอียดตำหนิแม่พิมพ์เช่นหูติดรำไรก็ดี เม็ดพระธาตุก็ดี รอยรูพรุนของเข็มก็ดี รอยหนอนด้นก็ดี หรือรอยปูไต่ก็ดีนั้น ล้วนมองไม่เห็นชัด เพราะเคลือบด้วยผิวแคลเซียม และพิมพ์หลังก็มีกรวดทรายจับอยู่เต็มทั้งองค์ครับ ผิวแคลเซียมเป็นหินปูนซึ่งเกิดขึ้นตามธรรมชาติ เมื่อองค์พระอยู่ในกรุมีอายุร้อยกว่าปี ของปลอมจะทำขึ้นไม่ได้เลยครับ

อ่านเพิ่มเติม:
Read More:




Tuesday, January 5, 2021


  

ขุนแผนเคลือบ กรุวัดใหญ่ชัยมงคล จ.อยุธยา
Glazed Khunpaen, Wat YaiChaimonkol,
Ayuthaya  (B.E.2135)

ภาพ: siamrath.co.th
อ.ราม วัชระประดิษฐ์