Saturday, January 16, 2021

 


ข้อเขียนของท่านอาจารย์รังสรรค์ ต่อสุวรรณ
เกี่ยวกับ พระสมเด็จวัดระฆัง
บรรจุกรุวัดสะตือ พ.ศ.2414 จ.พระนครศรีอยุธยา
ซึ่งเป็นความรู้สำหรับนักนิยมสะสมพระเครื่อง
ขอขอบพระคุณท่านอาจารย์ไว้ ณ ที่นี้

Write-ups of  Asst.Prof.
Rangsan Torsuwan
on Somdej Wat Rakang,
stored in Wat Satue
Ayuthaya, B.E.2414:


https://www.facebook.com/rangsantorsuwan/photos/a.495443590489020/1240470802652958 

พระสมเด็จวัดสะตือ จังหวัดอยุธยา
ของสมเด็จพุฒาจารย์ โต พรหมรังษี
วันนี้ผมอยากจะเล่าถึงเรื่อง พระสมเด็จของท่านเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์ โต พรหมรังษี พระเถราจารย์ที่คนไทยทั้งหลายให้ความเคารพศรัทธาเป็นอย่างสูงและตลอดกาล ท่านเจ้าประคุณสมเด็จ เป็นเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆษิตาราม ท่านได้เคยสร้างพระบูชาองค์ใหญ่ ซึ่งพวกเราเรียกกันว่า “หลวงพ่อโต” อยู่ทั้งหมด 3 องค์ ได้แก่พระบูชาหลวงพ่อโต ที่วัดเกศไชโย จังหวัดอ่างทอง ซึ่งถือเป็นพระปูนปั้นองค์ใหญ่มากที่สุดในสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งพระหลวงพ่อโตองค์นี้ต้องใช้เวลาสร้างอยู่หลายปี จนกระทั่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไม่สามารถนิมนต์ท่านเจ้าประคุณสมเด็จโตมาเทศน์ในพระบรมมหาราชวังได้เป็นระยะเวลานาน

ที่วัดเกศไชโย ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯท่านได้สร้าง พระสมเด็จวัดเกศไชโยขึ้น ซึ่งเป็นพระสมเด็จที่พุทธศาสนิกชนมีความเคารพนับถือเป็นอย่างยิ่ง ในวงการพระเครื่องถือว่าเป็นพระสมเด็จยอดนิยมเป็นอันดับสามรองลงมาจาก พระสมเด็จวัดระฆังโฆษิตาราม และพระสมเด็จวัดบางขุนพรหม

ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯท่านยังได้เดินธุดงก์ไปยังอยุทธยา ซึ่งเป็นบ้านเกิดของโยมแม่ ท่านจึงได้สร้างพระนอนปูนปั้นองค์ขนาดใหญ่รอวมาจาก พระนอนปูนปั้นที่วัดขุนอินทประมูล ในจังหวัดอ่างทอง โดยการสร้างพระนอนที่อยุธยานั้น เป็นการสร้างพระที่วัดสะตือ

เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2497 พระนอนที่วัดสะตือได้เกิดชำรุดเสียหายหนัก จึงต้องบูรณะสร้างขึ้นใหม่ จึงได้พบพระเครื่องปูนขาวรูปพระสมเด็จวัดระฆังโฆษิตารามเป็นจำนวนมาก เราเรียกกันว่า “พระสมเด็จวัดสะตือ”

สำหรับพระหลวงพ่อโตองค์ยืนที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ซึ่งท่านเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์ โต พรหมรังษีได้สร้างเป็นองค์สุดท้าย อยู่ที่วัดอินทร์ กรุงเทพมหานคร โดยที่ยังไม่ปรากฎว่ามีการขุดพบกรุที่บรรจุพระเครื่องพิมพ์ใดในพระหลวงพ่อโตองค์ยืนในกรุงเทพมหานครแต่อย่างใด

สำหรับพระสมเด็จวัดสะตือนั้น ค้นพบบรรจุอยู่ในองค์พระนอน ซึ่งถูกแช่น้ำมาโดยตลอด พระสมเด็จวัดสะตือในสมัยนั้นลือกันว่า ท่านจอมพล ป. พิบูลสงครามและท่านนายพลอีกหลายท่านครอบครองอยู่ มีพระจำนวนน้อยที่ออกมาสู่มือชาวบ้าน จึงมีผู้ที่พบเห็นน้อยมากครับ

ฯพณฯ จอมพล ป. ได้เคยกราบนมัสการหลวงปู่นาค วัดระฆังโฆษิตาราม ได้ฟังคำชี้แจงจากหลวงปู่ว่า ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์ โต พรหมรังษี เป็นผู้สร้างพระเครื่องพิมพ์สมเด็จวัดระฆังโฆษิตาราม ทั้งหมดพระที่สร้างในสมัยนั้น ส่วนที่เหลือบางส่วน ท่านเจ้าปนะคุณสมเด็จฯได้เก็บไว้ในฝ้าเพดานพระอุโบสถ วัดระฆังโฆษิตาราม จึงเป็นเหตุให้พระสมเด็จวัดสะตื เป็นพระที่มีพุทธศิลป์ มวลสารการสร้างพระ ตลอดจนการหดตัวและตำหนิศิลปะแม่พิมพ์เหมือนกับ พระสมเด็จวัดระฆังโฆษิตารามที่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯได้สร้างขึ้นครับ

เมื่อพระนอนปูนปั้นองค์ใหญ่ที่วัดสะตือ จังหวัดอยุธยา สร้างโดยท่านเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์ โต พรหมรังษี เจ้าอาวาสวัดระฆังโฆษิตาราม เพราะฉะนั้นพระผงสมเด็จกรุวัดสะตือซึ่งขุดได้จากภายในองค์พระนอนย่อมต้องเป็นพระเครื่องที่สร้างโดยท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ อย่างไม่ต้องสงสัย บรรดาเซียนปากสุนัขไม่ต้องสงสัยในประเด็นว่าสร้างโดยท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯหรือไม่ องค์พระนอนนั้นยาวสามสิบกว่าเมตร จัดเป็นพระนอนที่ใหญ่มากเป็นอันดับสองในประเทศไทย พระสมเด็จที่ฝังอยู่ในกรุภายในองค์พระนอนนั้น ถูกแช่น้ำยาวนานมากว่าร้อยปี เพราะที่อยุธยาจะมีน้ำท่วมทุกปี

เมื่อหลายปีก่อนมีเพื่อนผมไปนำพระสมเด็จกรุวัดสะตือมาให้ดู เห็นเป็นพระผุ ๆ พัง ๆ ขี้ดินผสมทราบเต็มไปทั้งองค์ดูแทบจะไม่เป็นพระเครื่องหรือพระสมเด็จเลย ต้องอาศัยอาราธณาเอาครับ

วันนี้พี่เปี๊ยก ปรีชา เอี่ยมธรรม ได้นำพระสมเด็จวัดสะตือมให้ผมดูองค์หนึ่ง เป็นพระที่สวยงามมากครับ เห็นเป็นพระผงสมเด็จเนื้อขาว แต่ไม่เห็นเนื้อในจึงยังไม่สามารถวิเคราะห์ว่า เนื้อมวลสารจะเหมือนพระสมเด็จวัดระฆังโฆษิตารามหรือไม่ มีเศษน้ำรักจับอยู่ประปราย และที่สำคัญที่สุดก็คือ มีคราบแคลเซียม จับเป็นแผ่นทั่วทั้งองค์พระ สีจึงกลับกลายเป็นสีเทา และพุทธศิลป์เป็นพระสมเด็จวัดระฆังโฆษิตาราม พิมพ์ใหญ่ ซุ้มครอบแก้วเป็นซุ้มหวายผ่าครึ่งที่เส้นใหญ่ จุดโค้งของซุ้มครอบแก้วด้านขวาขององค์พระประธานช่วงบนโค้งจะเอียงเข้าในองค์พระประธาน ตามพุทธศิลป์ของพระสมเด็จวัดระฆังโฆษิตาราม พิมพ์ใหญ่ทั้ง 4 พิมพ์ครับ

เส้นกรอบแม่พิมพ์กรอบนอกด้สนซ้ายมือขององค์พระประธาน จะมีเส้นกรอบพิมพ์จากด้านบนวิ่งลงมาจรดเส้นซุ้มครอบแก้ว บริเวณแขนใกล้ข้อศอกของพระประธาน ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของพระสมเด็จวัดระฆังโฆษิตาราม พิมพ์ใหญ่ทั้ง 4 พิมพ์เช่นกัน พุทธศิลป์ขององค์พระจะล่ำสันและน่าจะเป็นศิลปะของพระสมเด็จวัดระฆังโฆษิตาราม พิมพ์ใหญ่ พิมพ์ A ซึ่งจะมีเส้นแซมใต้ฐานเส้นบาง ๆ

สำหรับรายละเอียดตำหนิแม่พิมพ์เช่นหูติดรำไรก็ดี เม็ดพระธาตุก็ดี รอยรูพรุนของเข็มก็ดี รอยหนอนด้นก็ดี หรือรอยปูไต่ก็ดีนั้น ล้วนมองไม่เห็นชัด เพราะเคลือบด้วยผิวแคลเซียม และพิมพ์หลังก็มีกรวดทรายจับอยู่เต็มทั้งองค์ครับ ผิวแคลเซียมเป็นหินปูนซึ่งเกิดขึ้นตามธรรมชาติ เมื่อองค์พระอยู่ในกรุมีอายุร้อยกว่าปี ของปลอมจะทำขึ้นไม่ได้เลยครับ

อ่านเพิ่มเติม:
Read More:




No comments:

Post a Comment